รู้หรือไม่ Food Health 7 วิธีจัดการ "อาการคิดมาก" ความรู้สึกที่สะสมอยู่ในความคิด และอาจส่งผลกระทบต่อตัวเรา แต้มเอง 6/16/2565 URL Copied ผมเชื่อได้ว่า หลายคนที่เข้ามาอ่านบทความของผมนั้น ต้องมีอาการชอบคิดมากอยู่บ้าง ไม่น้อยก็มากนะครับ ซึ่งเอาตามตรง ผมเองก็ชอบที่จะคิดมากอยู่แล้ว แต่ในบางครั้งการที่เราเป็นคนชอบคิดมากก็อาจจะส่งผลกระทบต่ออะไรหลายอย่าง เพราะฉะนั้นในบทความของ TamKung วันนี้ เราจะมาพูดถึงวิธีการจัดการกับความคิดมาก ว่าจะทำอย่างไร และต้องแก้ไขที่ตรงไหนบ้างการคิดมากก็เป็นอีกหนึ่งอาการที่หลายคนรวมถึงผมนั้นเป็นนะครับ และไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะประสบพบเจอกับปัญหานี้ และเมื่อเราอยู่กับความคิดมากจนมากเกินไป ก็อาจจะส่งผลต่อการทำงานหรือชีวิตประจำวันของเราได้โดยที่ส่วนมากความคิดมาก ก็มากจากความกังวลในหลายเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่ยังคงอยู่ในความคิดของเรา วนเวียนซ้ำไปซ้ำมา และเมื่อเราปล่อยให้ความรู้สึกหรือเรื่องราวเหล่านี้มามีผลกระทบต่อโลกแห่งความเป็นจริง มันก็อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ร่างกายรวมไปถึงภาวะสุขภาพจิตได้โดยในครั้งนี้ ผมเองจะมาแบ่งปันวิธีหรือการช่วยให้เรานั้นสามารถจัดการกับความคิดมากกันดูนะครับ1. ลองถอยออกมาจากความรู้สึกนั้น และดูว่าเราจะเป็นยังไงเพราะในหลายครั้ง การที่เราจมอยู่กับปัญหาหรือเรื่องราวเหล่านั้นมากๆ มันก็ยากที่จะหยุดคิดถึงมัน หรือแม้จะเป็นสถานที่ก็ตาม หากในครั้งไหนที่เรารู้สึกเกิดความคิดมาก ให้ลองสังเกตดูว่า อารมณ์นั้นส่งผลต่อเราอย่างไร เกิดความคิดที่หงุดหงิด ประหม่าหรือรู้สึกผิดหรือไม่ หรือหาคำตอบว่า อะไรคืออารมณ์หลักที่เกิดขึ้นภายในความคิดของเราให้เราลองนึกถึงตัวเราเองก่อนนะครับ เพราะตัวเราเองนั่นแหละ ที่จะเป็นกุญแจหลักในการเปลี่ยนแปลงความคิด2. ลองหาสิ่งที่ตัวเองนั้นชอบทำในบางครั้งที่เรามัวแต่หมกมุ่นอยู่กับความคิดหรือการทำงาน เราก็ควรจะหาเวลาเพื่อตัวเราเอง หากิจกรรมที่เราชอบทำ และอยู่กับมันได้นานๆ ยกตัวอย่างเช่น การเรียนรู้การทำอาหาร การออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง การหากิจกรรมใหม่ๆ ทำงานศิลปะหรือการเป็นอาสาสมัครเพื่อทำงานเพื่อสังคมเพราะการที่เราได้เอาเวลาที่จะไปนั่งคิดถึงเรื่องราวในอดีต ไปทำในงานหรือกิจกรรมที่เรานั้นสนใจ ซึ่งมันน่าจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเองมากกว่า หรือถ้าหากเราทำไม่ได้ เราก็อาจจะเริ่มจากการแบ่งเวลาอย่างน้อย 30 นาทีต่อวันในการสำรวจหรือหาปัญหาที่มันกวนใจของเราก็ได้ครับ3. การสูดลมหายใจเข้าลึกๆการหายใจเข้าลึกๆ นอกจากจะเป็นผลดีต่อสมองในการรับออกซิเจนแล้ว มันยังช่วยให้เรานั้นรู้สึกผ่อนคลายได้อีกด้วยละครับ โดยวิธีการก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียง 3 ขั้นตอนขั้นตอนที่ 1: หาสถานที่ที่สะดวกสบายในการยืนหรือนั่ง และผ่อนคลายตัว คอและไหล่ของเราขั้นตอนที่ 2: วางมือข้างหนึ่งในเหนือหัวใจและอีกมือหนึ่งวางบนท้องของเราขั้นตอนที่ 3: หายใจเข้าและออกทางจมูกทำแบบนี้อย่างน้อย 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 5 นาที หรือไม่ไหร่ก็ตาม ที่เรารู้สึกว่ามีความคิดมากก็สามารถทำได้ครับ4. ลองเข้าใจถึงความคิดเชิงลบในตัวของเราความคิดเชิงลบนี้เป็นความคิดที่อาจจะเป็นชุดที่ทำให้เราเกิดความคิดมาก เพราะมันจะเกิดขึ้นมาในหัวของเราอย่างที่เราไม่ได้ตั้งตัว โดยปกติแล้วอาการเหล่านี้มักจะมาในตอนที่เรากลัวหรือโกรธครับ โดยผมอยากจะให้ลองจัดการด้วยวิธีเหล่านี้ดีลองใช้สมุดจดบันทึก เพื่อติดตามสถานการณ์ที่เราเกิดความวิตก กังวล โดยเมื่อมีความรู้สึกเหล่านี้ ก็ให้ลองเขียนมันออกมาดูครับในตอนที่เรากำลังนั่งนึกถึงรายละเอียด ให้ลองประเมินดูว่า เหตุผลอะไรที่ทำให้เกิดสถานการณ์ที่เป็นความคิดเชิงลบหาทางเลือกอื่นๆ แทนความคิดเดิมๆ ของเรา เช่น แทนที่เราจะคิดว่า "นี่เป็นความล้มเหลวของเรา" ให้ลองเปลี่ยนความคิดเป็น "เราทำเต็มที่แล้วจริงๆ " ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เราสามารถจัดการกับความคิดมากแล้วละครับ5. เลือกคิดถึงในความสำเร็จของเราเพราะในบางครั้ง เราก็อาจจะมัวแต่คิดถึงความล้มเหลว จนก็ลืมมองไปว่า เราเคยสำเร็จไปในเรื่องอะไรบ้าง ในบางครั้งที่ผมมักจะรู้สึกคิดมาก หรือกำลังคิดว่าตัวเองนั้นล้มเหลว ผมก็จะมองดูรูปถ่ายเก่าๆ ที่เราเคยได้ประสบความสำเร็จ ซึ่งมันก็เป็นแรงผลักดัน ที่ทำให้ผมนั้นได้นึกถึงความสำเร็จที่เคยเกิดขึ้นมา และก็อยากจะสู้ต่อไปนั่งเองละครับหรือในบางครั้งเราก็อาจจะไม่ต้องไปมองถึงเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็ได้ เราอาจจะมองไปเพียงเรื่องที่น่ายินดีเล็กน้อย ที่เราเคยทำได้ เช่นการประหยัดเงินเพื่อซื้อของชิ้นที่อยากได้ หรือการได้ยินกาแฟร้านโปรด เรื่องพวกนี้ ก็สามารถทำให้เรายินดีได้แล้วเช่นกันครับ6. ให้เราได้อยู่กับปัจจุบันหลายครั้งการที่เรานั้นคิดมาก ก็เป็นเพราะเราเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว หรือที่ไม่ใช่ในปัจจุบัน อย่าลืมไปนะครับ ว่าทุกวันนี้เราอยู่กับปัจจุบัน แล้วเราก็จะต้องพร้อมก้าวไปสู่อนาคต การที่เรามันแต่อยู่กับอดีต ก็จะทำให้เราไม่สามารถไปไหนได้ แต่ผมอยากให้ลองวิธีต่อไปนี้ดูนะครับวิธีที่ 1 ให้เราลองปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ปิดโทรศัพท์ในแต่ละช่วงเวลาที่เรากำหนด เพื่อให้เราได้ออกห่างจากโทรศัพท์ แล้วได้เปิดหูเปิดตามองดูโลกในปัจจุบันของเราวิธีที่ 2 กินอย่างมีสติ เลือกกินในสิ่งที่เป็นของโปรด หรือหารางวัลและความสุขในกับตัวของเราบ้าง เพื่อเป็นการให้ร่างกายของเรานั้นมีความสุขวิธีที่ 3 ออกไปข้างนอกบ้างครับ วิธีนี้ผมรู้สึกว่าได้ผลมากๆ เพราะการได้อยู่แต่ภายในห้องสี่เหลี่ยม หรืออยู่ในพื้นที่เดิมๆ นั้นจะทำให้เราจมอยู่กับความคิดเดิมมากๆ กว่าที่จะปลดปล่อย ลองเดินสักรอบ อย่างน้อยเราจะได้เห็นมุมมองอื่นๆ ที่ต่างไปจากเดิมก็ได้ครับ7. การขอคำปรึกษาหากท้ายที่สุด เราอาจจะลองทำให้สิ่งที่ผมว่ามาทั้งหมดแล้ว แต่มันอาจจะไม่ได้ผลเสมอไป ผมอยากจะแนะนำว่าให้ลองหาคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชียวชาญ เพื่อขอรับการตรวจที่ละเอียดไปกว่านี้ครับ เพราะในบางครั้งเราเองอาจจะกำลังเผชิญกับภาวะโรคทางอารมณ์ก็เป็นได้ครับ และต้องย้ำเสมอว่า การเข้ารับการตรวจกับจิตแพทย์นั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าอาย หรือเป็นเรื่องแปลกแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องที่ดีต่อตัวเรา เพื่อรับการรักษา และจะได้ทราบถึงเรื่องราวที่เราเป็นอยู่ พร้อมคำแนะนำในการจัดการความคิดอีกด้วยละครับซึ่งทั้งหมดที่ผมว่ามานี้ เป็นวิธีที่ผมก็เคยได้ลองทำมาแล้วครับ และผมก็รู้สึกว่ามันสามารถช่วยให้เราได้หลีกหนีกับการคิดมาก ที่อาจจะส่งผลต่อสุขภาพ ร่างกายและจิตใจของเรานะครับ และผมเชื่อว่า ทุกคนจะสามารถก้าวผ่านเรื่องราวที่พบเจอในวันนี้ และพร้อมไปสู่อนาคตพร้อมกับเราทุกคนหากเพื่อนๆ มีคำถามหรือข้อแนะนำอย่างไร ก็สามารถพูดคุยกันได้ในช่อง Comment นะครับ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และวิธีในการรับมือของแต่ละคน ว่ามีการจัดการกับเรื่องพวกนี้อย่างไร และขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนด้วยนะครับ ใช้ร่วมกัน รับลิงก์ Facebook X Pinterest อีเมล แอปอื่นๆ แสดงความคิดเห็น ความคิดเห็น
ผมเชื่อได้ว่า หลายคนที่เข้ามาอ่านบทความของผมนั้น ต้องมีอาการชอบคิดมากอยู่บ้าง ไม่น้อยก็มากนะครับ ซึ่งเอาตามตรง ผมเองก็ชอบที่จะคิดมากอยู่แล้ว แต่ในบางครั้งการที่เราเป็นคนชอบคิดมากก็อาจจะส่งผลกระทบต่ออะไรหลายอย่าง เพราะฉะนั้นในบทความของ TamKung วันนี้ เราจะมาพูดถึงวิธีการจัดการกับความคิดมาก ว่าจะทำอย่างไร และต้องแก้ไขที่ตรงไหนบ้าง
การคิดมากก็เป็นอีกหนึ่งอาการที่หลายคนรวมถึงผมนั้นเป็นนะครับ และไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะประสบพบเจอกับปัญหานี้ และเมื่อเราอยู่กับความคิดมากจนมากเกินไป ก็อาจจะส่งผลต่อการทำงานหรือชีวิตประจำวันของเราได้
โดยที่ส่วนมากความคิดมาก ก็มากจากความกังวลในหลายเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่ยังคงอยู่ในความคิดของเรา วนเวียนซ้ำไปซ้ำมา และเมื่อเราปล่อยให้ความรู้สึกหรือเรื่องราวเหล่านี้มามีผลกระทบต่อโลกแห่งความเป็นจริง มันก็อาจจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ร่างกายรวมไปถึงภาวะสุขภาพจิตได้
โดยในครั้งนี้ ผมเองจะมาแบ่งปันวิธีหรือการช่วยให้เรานั้นสามารถจัดการกับความคิดมากกันดูนะครับ
1. ลองถอยออกมาจากความรู้สึกนั้น และดูว่าเราจะเป็นยังไง
เพราะในหลายครั้ง การที่เราจมอยู่กับปัญหาหรือเรื่องราวเหล่านั้นมากๆ มันก็ยากที่จะหยุดคิดถึงมัน หรือแม้จะเป็นสถานที่ก็ตาม หากในครั้งไหนที่เรารู้สึกเกิดความคิดมาก ให้ลองสังเกตดูว่า อารมณ์นั้นส่งผลต่อเราอย่างไร เกิดความคิดที่หงุดหงิด ประหม่าหรือรู้สึกผิดหรือไม่ หรือหาคำตอบว่า อะไรคืออารมณ์หลักที่เกิดขึ้นภายในความคิดของเรา
ให้เราลองนึกถึงตัวเราเองก่อนนะครับ เพราะตัวเราเองนั่นแหละ ที่จะเป็นกุญแจหลักในการเปลี่ยนแปลงความคิด
2. ลองหาสิ่งที่ตัวเองนั้นชอบทำ
ในบางครั้งที่เรามัวแต่หมกมุ่นอยู่กับความคิดหรือการทำงาน เราก็ควรจะหาเวลาเพื่อตัวเราเอง หากิจกรรมที่เราชอบทำ และอยู่กับมันได้นานๆ ยกตัวอย่างเช่น การเรียนรู้การทำอาหาร การออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง การหากิจกรรมใหม่ๆ ทำงานศิลปะหรือการเป็นอาสาสมัครเพื่อทำงานเพื่อสังคม
เพราะการที่เราได้เอาเวลาที่จะไปนั่งคิดถึงเรื่องราวในอดีต ไปทำในงานหรือกิจกรรมที่เรานั้นสนใจ ซึ่งมันน่าจะเป็นประโยชน์ต่อตัวเราเองมากกว่า หรือถ้าหากเราทำไม่ได้ เราก็อาจจะเริ่มจากการแบ่งเวลาอย่างน้อย 30 นาทีต่อวันในการสำรวจหรือหาปัญหาที่มันกวนใจของเราก็ได้ครับ
3. การสูดลมหายใจเข้าลึกๆ
การหายใจเข้าลึกๆ นอกจากจะเป็นผลดีต่อสมองในการรับออกซิเจนแล้ว มันยังช่วยให้เรานั้นรู้สึกผ่อนคลายได้อีกด้วยละครับ โดยวิธีการก็สามารถทำได้ง่ายๆ เพียง 3 ขั้นตอน
ทำแบบนี้อย่างน้อย 3 ครั้งต่อวันเป็นเวลา 5 นาที หรือไม่ไหร่ก็ตาม ที่เรารู้สึกว่ามีความคิดมากก็สามารถทำได้ครับ
4. ลองเข้าใจถึงความคิดเชิงลบในตัวของเรา
ความคิดเชิงลบนี้เป็นความคิดที่อาจจะเป็นชุดที่ทำให้เราเกิดความคิดมาก เพราะมันจะเกิดขึ้นมาในหัวของเราอย่างที่เราไม่ได้ตั้งตัว โดยปกติแล้วอาการเหล่านี้มักจะมาในตอนที่เรากลัวหรือโกรธครับ โดยผมอยากจะให้ลองจัดการด้วยวิธีเหล่านี้ดี
5. เลือกคิดถึงในความสำเร็จของเรา
เพราะในบางครั้ง เราก็อาจจะมัวแต่คิดถึงความล้มเหลว จนก็ลืมมองไปว่า เราเคยสำเร็จไปในเรื่องอะไรบ้าง ในบางครั้งที่ผมมักจะรู้สึกคิดมาก หรือกำลังคิดว่าตัวเองนั้นล้มเหลว ผมก็จะมองดูรูปถ่ายเก่าๆ ที่เราเคยได้ประสบความสำเร็จ ซึ่งมันก็เป็นแรงผลักดัน ที่ทำให้ผมนั้นได้นึกถึงความสำเร็จที่เคยเกิดขึ้นมา และก็อยากจะสู้ต่อไปนั่งเองละครับ
หรือในบางครั้งเราก็อาจจะไม่ต้องไปมองถึงเรื่องราวที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็ได้ เราอาจจะมองไปเพียงเรื่องที่น่ายินดีเล็กน้อย ที่เราเคยทำได้ เช่นการประหยัดเงินเพื่อซื้อของชิ้นที่อยากได้ หรือการได้ยินกาแฟร้านโปรด เรื่องพวกนี้ ก็สามารถทำให้เรายินดีได้แล้วเช่นกันครับ
6. ให้เราได้อยู่กับปัจจุบัน
หลายครั้งการที่เรานั้นคิดมาก ก็เป็นเพราะเราเอาตัวเองเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว หรือที่ไม่ใช่ในปัจจุบัน อย่าลืมไปนะครับ ว่าทุกวันนี้เราอยู่กับปัจจุบัน แล้วเราก็จะต้องพร้อมก้าวไปสู่อนาคต การที่เรามันแต่อยู่กับอดีต ก็จะทำให้เราไม่สามารถไปไหนได้ แต่ผมอยากให้ลองวิธีต่อไปนี้ดูนะครับ
7. การขอคำปรึกษา
หากท้ายที่สุด เราอาจจะลองทำให้สิ่งที่ผมว่ามาทั้งหมดแล้ว แต่มันอาจจะไม่ได้ผลเสมอไป ผมอยากจะแนะนำว่าให้ลองหาคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชียวชาญ เพื่อขอรับการตรวจที่ละเอียดไปกว่านี้ครับ เพราะในบางครั้งเราเองอาจจะกำลังเผชิญกับภาวะโรคทางอารมณ์ก็เป็นได้ครับ และต้องย้ำเสมอว่า การเข้ารับการตรวจกับจิตแพทย์นั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าอาย หรือเป็นเรื่องแปลกแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องที่ดีต่อตัวเรา เพื่อรับการรักษา และจะได้ทราบถึงเรื่องราวที่เราเป็นอยู่ พร้อมคำแนะนำในการจัดการความคิดอีกด้วยละครับ
ซึ่งทั้งหมดที่ผมว่ามานี้ เป็นวิธีที่ผมก็เคยได้ลองทำมาแล้วครับ และผมก็รู้สึกว่ามันสามารถช่วยให้เราได้หลีกหนีกับการคิดมาก ที่อาจจะส่งผลต่อสุขภาพ ร่างกายและจิตใจของเรานะครับ และผมเชื่อว่า ทุกคนจะสามารถก้าวผ่านเรื่องราวที่พบเจอในวันนี้ และพร้อมไปสู่อนาคตพร้อมกับเราทุกคน
หากเพื่อนๆ มีคำถามหรือข้อแนะนำอย่างไร ก็สามารถพูดคุยกันได้ในช่อง Comment นะครับ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และวิธีในการรับมือของแต่ละคน ว่ามีการจัดการกับเรื่องพวกนี้อย่างไร และขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนด้วยนะครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น