รู้หรือไม่ Food รู้จักกับลิขสิทธิ์ เรื่องใกล้ตัวที่ใครหลายคนมองข้าม แต้มเอง 5/26/2565 URL Copied สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมเชื่อว่าในตอนนี้หลายคนที่เป็นคนทำงานในสายของงานออกแบบ หรือการทำคอมพิวเตอร์กราฟิกต่างๆ ก็อาจจะได้ยินข่าวหรือเรื่องดราม่าในเรื่องของลิขสิทธิ์กันแล้วใช่ไหมครับ ซึ่งผมก็ต้องบอกก่อนเลย ว่าผมเองก็ได้เรียนรู้เรื่องของลิขสิทธิ์กันมาค่อนข้างมาก เพราะเป็นคนทำงานสายนี้ก็ต้องควรรู้ไว้ แต่ก็มีหลายคนที่อาจจะไม่ได้รู้ ซึ่งในบทความของ TamKung วันนี้ เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องของลิขสิทธิ์ คืออะไร ทำไมต้องมี แล้วจะใช้งานมันได้อย่างไรต้องขอออกตัวก่อนว่า ผมเองอาจจะไม่ได้เป็นคนที่เก่งเรื่องของกฎหมาย หรือไม่ได้เรียนกฎหมายมาแต่อย่างใด ผมก็อาจจะมีบางเรื่องที่อาจจะไม่ได้พูดถึงทั้งหมด แต่ผมจะเอาจากความเข้าใจของตัวผมเองออกมาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันนะครับ หากเพื่อนๆ ที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ มีข้อคิดเห็น หรือความรู้อยากจะแบ่งให้เรารู้ ก็สามารถพิมพ์ได้ในช่อง Comment ได้ครับลิขสิทธิ์คืออะไร?จากการอธิบายของกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เขียนไว้ว่า "ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน" ถ้าหากจะให้อธิบายง่ายๆ คือทุกสิ่งทุกอย่างที่เราสามารถคิด สร้างสรรค์ หรือออกแบบขึ้นมาแล้ว พวกมันก็ล้วนแล้วแต่มีลิขสิทธิ์ทั้งนั้นครับ โดยที่เราก็อาจจะไม่ต้องไปแจ้งจดลิขสิทธิ์แต่อย่างใดนั่นเองครับ (อ้างอิง ipthailand)เพราะฉะนั้นแล้วผลงานทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ รูปถ่าย ผลงานการเขียน บทความ วิดีโอ เพลง หรือแม้แต่กระทั้งฟอนต์ตัวหนังสือที่เราเห็นนี้ ก็จะมีลิขสิทธิ์ที่คลุมผลงานของเราอยู่นั่นเอง ทำให้เมื่อใดก็ตาม มีคนเอาผลงานของเราไปใช้งาน หรือคัดลอก ดัดแปลงเพื่อการทำงานอื่นๆ มันก็จะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ครับผลงานแบบไหนจะเป็นผลงานที่มีลิขสิทธิ์ภายในตัว?งานด้านภาพและเสียง เช่น รายการทีวี ภาพยนตร์ และวิดีโอออนไลน์การบันทึกเสียงและการประพันธ์เพลงงานเขียน เช่น บทบรรยาย บทความ หนังสือ และการประพันธ์เพลงงานด้านภาพ เช่น ภาพวาด โปสเตอร์ และโฆษณาวิดีโอเกมและซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์งานด้านละคร เช่น ละครเวทีและละครเพลงการละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นการทำอาชญากรรม?เมื่อพูดถึงคำนี้ ทุกคนก็คงฟังไม่ผิดครับ เพราะการละเมิดลิขสิทธิ์ มันก็เหมือนการทำอาชญากรรมทางอ้อม ต่อผู้คิดค้น หรือสรรค์สร้างผลงานออกมานั่นเอง ซึ่งการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ เผยแพร่ ดัดแปลง ทำซ้ำ โดยผู้เป็นเจ้าของผลงานไม่อนุญาตหรือไม่ได้รับทราบหรือตามที่เจ้าของผลงานเป็นผู้กำหนด แต่หากเราไม่ได้ทำตามที่เจ้าของผลงานกำหนดหรือตามที่กฎหมายกำหนด ก็จะกลายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ซึ่งการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น ก็มีโทษทางอาญาทั้งจำคุกและโทษปรับแล้วแต่กรณี โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งด้วย โทษทางอาญา เรียกได้ว่า การละเมิดลิขสิทธิ์นั่นก็มีโทษที่หนัก แต่ส่วนใหญ่เท่าที่เห็น ก็จะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนมากเลยครับผมเคยทำ Podcast เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว หากต้องการลองไปฟัง สามารถเข้าไปฟังได้ที่ TamKung Podcast ได้นะครับซึ่งบทความของผมเอง รวมไปถึงผลงานทางด้านงานสื่อของ TamKung ทุกชิ้น ก็ล้วนแล้วแต่มีลิขสิทธิ์ภายในตัว โดยหากใครต้องการเอาไปใช้งาน คัดลอก หรือดัดแปลง ก็จะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่มันก็มีข้อยกเว้นอยู่ได้หลายกรณีครับ โดยเราจะมาเริ่มต้นกันที่ Fair Use หรือในภาษาไทยน่าจะแปลว่า การใช้งานอย่างเป็นธรรมในกรณีของ Fair Use เป็นเหมือนตัวยกเว้นให้กับการใช้งานผลงานที่มีลิขสิทธิ์ โดยจะเป็นการใช้งานได้ในหลายกรณี โดยส่วนใหญ่ การใช้งาน Fair Use จะมีกฎเกณฑ์ที่สามารถนำไปใช้งานได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น ให้เครดิตกับเจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่เปิดการสร้างรายได้จากเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือจะเป็นการจ่ายเงินซื้อสำเนาของเนื้อหาที่ต้องสงสัยการให้เครดิตเอง เป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด ที่เราสามารถใช้งานเพื่อ Fair Use และก็ได้รับความนิยมอย่างมาก ในงานที่จำเป็นต้องการข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิง เหมือนเวลาที่ผมต้องเขียนบทความที่ต้องมีแหล่งที่มาอย่างชัดเจน เราเองก็ไม่สามารถสร้างความหมายใหม่ๆ ขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องไปอ้างอิงจากที่อื่น ไม่ว่าจะเป็นบนโลกอินเทอร์เน็ต หรือหนังสือ เราก็ควรจะใส่รายละเอียดที่มา พร้อมแนบลิงก์เว็บ เพื่อกลับไปยังแหล่งที่มาได้ หรือจะเป็นการที่เราดาวน์โหลดรูปภาพหรือกราฟิกจากเว็บไซต์ต่างๆ มันก็จะมีเครดิตของผู้สร้างเอาไว้ให้ เราก็สามารถเอาไปใส่เพื่อเป็นการให้เครดิตกับผู้สร้างครับแต่ถึงแม้ว่าเราอาจจะใส่ชื่อ หรือเครดิตให้แล้ว เราก็ต้องมาดูด้วยว่าเว็บไซต์ต้นทาง หรือคนสร้างนั้นมีเงื่อนไขอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างเช่น ผู้สร้างผลงานอาจจะให้เราเอาภาพนั้นไปใช้งานในเชิงไม่สร้างรายได้ หรือทำงานเพื่อหาเงิน ก็ต้องดูกันไป โดยมันจะมีการเขียนระบุไว้อย่างชัดเจน ผมแนะนำว่าเราควรจะศึกษาข้อมูลให้ดี กันได้ดีกว่าต้องไปขึ้นศาลครับ อย่างเช่นหากเป็นเว็บไซต์รูปภาพที่ผมใช้งานอยู่ ผมเป็นสมาชิกแบบ Premium ซึ่งผมสามารถดาวน์โหลดได้ทุกอย่าง และสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผมก็จะสามารถใช้งานได้ โดยไม่ต้องใส่เครดิตก็ได้ แต่ถ้าเป็นเว็บไซต์อื่น ที่ผมใช้งานฟรี ผมก็ยังต้องให้เครดิตและทำตามกฎที่ทางเว็บไซต์เป็นตัวกำหนดครับหรือจะเป็นการสร้างงานโดยไม่ให้มีรายได้ขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่นงานวิดีโอบนช่อง Youtube ของเรา ในวิดีโอชิ้นนั้น เราก็จะไม่สามารถสร้างรายได้ ซึ่งเราก็สามารถยืนยันไปทางต้นทางผลงานได้ว่า เรานั่นได้ตั้งค่าวิดีโอของเรา ให้เป็นการไม่สร้างรายได้ เพื่อที่จะเป็นการปิดการสร้างรายได้จากเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือถ้าเราอยากจะได้ผลงานชิ้นนั้นมากๆ และไม่รู้จะทำอย่างไร ก็แนะนำให้ลองติดต่อเจ้าของผลงาน เพื่อยื่นข้อเสนอในการซื้อขายผลงานได้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีแพลตฟอร์มมากมาย ในการรวบรวมผลงานที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้นำมาโพสต์ หรือเอามาวางขายอยู่ทั่วไป ตั้งแต่งานบทความ งาน Stock ภาพถ่ายหรือวิดีโอ เพลง ฟอนต์ซึ่งเราก็สามารถซื้อมาได้ เพื่อใช้งานได้อย่างถูกลิขสิทธิ์นั่นเองครับการใช้งาน Fair Use ยังอาจจะต้องพิจารณาอีก 4 หัวข้อซึ่งส่วนใหญ่เราจะคำนึงถึง 4 หัวข้อ เพื่อจะเป็นการพิจารณาในเรื่องของ Fair Use ซึ่งจะประกอบไปด้วย1. เรื่องของวัตถุประสงค์ และลักษณะของการใช้งานโดยที่เราต้องดูก็คือการ ดูว่ามีการใช้งานในประเภทงานแบบใด ซึ่งมันจะรวมถึงเรื่องของการใช้งานทางด้านเชิงพาณิชย์หรือเพื่อการศึกษาแบบไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งต้องเอาไว้ใช้เพื่อการอ้างอิงข้อมูลเฉยๆ อันนี้ก็อาจจะทำได้ในขอบเขตของ Fair Use ซึ่งถ้าไม่คัดลอกมาทั้งหมด แล้วเอาไปใช้เลย แม้ว่ามันอาจจะไม่ได้ทำงานในเชิงพาณิชย์นั่นก็ถือว่าผิดลิขสิทธิ์ แต่ถ้าหากนำไปอ้างอิง พร้อมเพิ่มเติมแสดงความคิดเห็น ไม่มีการทำให้เกิดความเสียหาย ไม่หมิ่นประมาท ก็ค่อนข้างจะไม่เป็นปัญหาอะไรครับ2. รูปแบบลิขสิทธิ์ของงานอันนี้น่าจะเข้าข่ายกับงานที่ต้องการความถูกต้องของเนื้อหา เช่นการอ้างอิงผลงานการวิจัย หรือการอ้างอิงความหมาย นิยามของคำศัพท์ เพื่อความถูกต้องมักจะเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์แบบ Fair Use ครับ ซึ่งมันจะต่างจากงานที่แต่งขึ้นมาโดยไม่ได้ทำเพื่อสร้างข้อเท็จจริงใหม่ๆ3. จำนวน ปริมาณหรือสัดส่วนที่มีการนำไปใช้ยิ่งจำนวนหรือปริมาณที่เราไปหยิบยืมงานของคนอื่นมาน้อยมากแค่ไหน ก็ยิ่งนับว่าเป็น Fair Use มากเท่านั้นครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราสามารถเข้าใจกันได้ว่ายอยู่แล้ว ยกเว้นการที่เราไปเอามาแบบน้อยก็จริง แต่นั่นเป็นหัวข้อหรือใยความหลักของงาน แบบนี้ก็ถือว่าไม่ได้เป็นการใช้งานแบบ Fair Use ครับ ยกตัวอย่างเช่น หากผมอยากจะเขียนบทความที่เกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ แล้วผมไปเอาข้อมูลมาจากเว็บไซต์ผู้ผลิตมา และผมก็ไปเอาข้อความบทสรุปของสินค้ามาใส่ในผลงานของผม แม้ว่าจะเป็นเพียงข้อความสั้นๆ แต่ถ้าหากเจ้าของผลงานหรือผู้เขียนคนนั้นมาเห็น ก็อาจจะฟ้องร้องได้ และหากไปถึงศาล เราก็อาจจะเป็นฝ่ายผิดครับ เพราะงั้นแล้วหากต้องการใช้ข้อมูลแนวนั้น ก็ควรจะลองเขียนสรุปให้เป็นภาษาของเราเองจะดีที่สุดครับ4. การส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์หรือรายได้ของตัวผลงานถ้าเราเป็นศิลปิน เราก็คงไม่อยากให้มีใครมาดูดผลงานของเราเอาไปปล่อยขายที่อื่นในราคาที่ถูกกว่าหรอกใช่ไหมครับ นั่นเองที่เป็นหัวใจหลักของเหตุผลข้อนี้ เพราะการที่มีคนเอางานหรือผลงานของเราไปลงที่อื่น ทำให้เราอาจจะสูญเสียรายได้ไป นั่นก็ถือว่าเขาได้ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ครับ เช่นในปัจจุบันมีการดูดคลิปจาก Youtube ช่องดังๆ เอาไปลงผ่านแพลตฟอร์มวิดีโอต่างๆ แล้วทำให้ยอดการรับชมของคนที่ดูดคลิปไปนั้นสูงขึ้น โดยที่ผู้ชมผ่านช่องนั้นไม่ได้รู้เลยว่า เจ้าของตัวจริงคือใคร นี้ก็เป็นการทำให้เจ้าของผลงานตัวจริงสูญเสียรายได้จากการรับชมผลงาน แถมยังไปสร้างรายได้ให้กับผู้ที่ดูดวิดีโอไปลงอีก นั่นเรียกว่าทำผิดหลายอย่างเลยครับ ทางที่ดีหากเราได้พบเห็นแบบนั้น ก็ควรจะกดรายงานไปยังต้นสังกัดแพลตฟอร์มนั้นๆ เพื่อทำการลบคลิปครับลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า และสิทธิบัตรคือคนละอย่างกันด้วยความที่ว่า เราอาจจะเคยได้ยินคำทั้ง 3 คำนี้ แล้วเกิดความสงสัย ว่ามันเหมือนกันหรือไม่ ซึ่งต้องบอกตรงนี้ว่า ทั้ง 3 อย่างที่ว่ามานี้ มันเป็นเพียงทรัพย์สินทางปัญญารูปแบบหนึ่งเท่านั้นครับ เช่นเครื่องหมายการค้าซึ่งป้องกันไม่ให้ผู้อื่นใช้ชื่อแบรนด์ คำขวัญ โลโก้ และตัวระบุแหล่งที่มาอื่นๆ เพื่อวัตถุประสงค์หนึ่งๆ โดยที่จะแตกต่างจากกฎหมายสิทธิบัตรที่คุ้มครองการคิดค้นต่างๆ ครับจริงๆ มันก็มีอีกหลายเรื่องที่อาจจะต้องทำความเข้าใจกับเรื่องของลิขสิทธิ์นะครับ เพราะผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากๆ และเราเองก็ได้เห็นเรื่องราวมากมายที่เป็นข่าว หรือดราม่าในยุคปัจจุบัน ผมเลยอยากจะแนะนำว่า ให้ลองศึกษาเงื่อนไข หรือข้อจำกัดในการใช้งาน ผลงานการออกแบบที่มีลิขสิทธิ์โดยเฉพาะครับ แล้วเราก็จะเห็นได้ว่า เรื่องของลิขสิทธิ์นั้นมันอยู่รอบตัวเรา และเป็นเรื่องที่สามารถพูดคุยกันได้นั่นเองละครับ ใช้ร่วมกัน รับลิงก์ Facebook X Pinterest อีเมล แอปอื่นๆ แสดงความคิดเห็น ความคิดเห็น
สวัสดีครับเพื่อนๆ ผมเชื่อว่าในตอนนี้หลายคนที่เป็นคนทำงานในสายของงานออกแบบ หรือการทำคอมพิวเตอร์กราฟิกต่างๆ ก็อาจจะได้ยินข่าวหรือเรื่องดราม่าในเรื่องของลิขสิทธิ์กันแล้วใช่ไหมครับ ซึ่งผมก็ต้องบอกก่อนเลย ว่าผมเองก็ได้เรียนรู้เรื่องของลิขสิทธิ์กันมาค่อนข้างมาก เพราะเป็นคนทำงานสายนี้ก็ต้องควรรู้ไว้ แต่ก็มีหลายคนที่อาจจะไม่ได้รู้ ซึ่งในบทความของ TamKung วันนี้ เราจะมาพูดคุยกันถึงเรื่องของลิขสิทธิ์ คืออะไร ทำไมต้องมี แล้วจะใช้งานมันได้อย่างไร
ต้องขอออกตัวก่อนว่า ผมเองอาจจะไม่ได้เป็นคนที่เก่งเรื่องของกฎหมาย หรือไม่ได้เรียนกฎหมายมาแต่อย่างใด ผมก็อาจจะมีบางเรื่องที่อาจจะไม่ได้พูดถึงทั้งหมด แต่ผมจะเอาจากความเข้าใจของตัวผมเองออกมาเล่าให้ทุกคนได้ฟังกันนะครับ หากเพื่อนๆ ที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ มีข้อคิดเห็น หรือความรู้อยากจะแบ่งให้เรารู้ ก็สามารถพิมพ์ได้ในช่อง Comment ได้ครับ
ลิขสิทธิ์คืออะไร?
จากการอธิบายของกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เขียนไว้ว่า "ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น โดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน" ถ้าหากจะให้อธิบายง่ายๆ คือทุกสิ่งทุกอย่างที่เราสามารถคิด สร้างสรรค์ หรือออกแบบขึ้นมาแล้ว พวกมันก็ล้วนแล้วแต่มีลิขสิทธิ์ทั้งนั้นครับ โดยที่เราก็อาจจะไม่ต้องไปแจ้งจดลิขสิทธิ์แต่อย่างใดนั่นเองครับ (อ้างอิง ipthailand)
เพราะฉะนั้นแล้วผลงานทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ รูปถ่าย ผลงานการเขียน บทความ วิดีโอ เพลง หรือแม้แต่กระทั้งฟอนต์ตัวหนังสือที่เราเห็นนี้ ก็จะมีลิขสิทธิ์ที่คลุมผลงานของเราอยู่นั่นเอง ทำให้เมื่อใดก็ตาม มีคนเอาผลงานของเราไปใช้งาน หรือคัดลอก ดัดแปลงเพื่อการทำงานอื่นๆ มันก็จะถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ครับ
ผลงานแบบไหนจะเป็นผลงานที่มีลิขสิทธิ์ภายในตัว?
การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นการทำอาชญากรรม?
เมื่อพูดถึงคำนี้ ทุกคนก็คงฟังไม่ผิดครับ เพราะการละเมิดลิขสิทธิ์ มันก็เหมือนการทำอาชญากรรมทางอ้อม ต่อผู้คิดค้น หรือสรรค์สร้างผลงานออกมานั่นเอง ซึ่งการนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ เผยแพร่ ดัดแปลง ทำซ้ำ โดยผู้เป็นเจ้าของผลงานไม่อนุญาตหรือไม่ได้รับทราบหรือตามที่เจ้าของผลงานเป็นผู้กำหนด แต่หากเราไม่ได้ทำตามที่เจ้าของผลงานกำหนดหรือตามที่กฎหมายกำหนด ก็จะกลายเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
ซึ่งการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น ก็มีโทษทางอาญาทั้งจำคุกและโทษปรับแล้วแต่กรณี โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ยังมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในทางแพ่งด้วย โทษทางอาญา เรียกได้ว่า การละเมิดลิขสิทธิ์นั่นก็มีโทษที่หนัก แต่ส่วนใหญ่เท่าที่เห็น ก็จะเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายเป็นเงินจำนวนมากเลยครับ
ผมเคยทำ Podcast เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว หากต้องการลองไปฟัง สามารถเข้าไปฟังได้ที่ TamKung Podcast ได้นะครับ
ซึ่งบทความของผมเอง รวมไปถึงผลงานทางด้านงานสื่อของ TamKung ทุกชิ้น ก็ล้วนแล้วแต่มีลิขสิทธิ์ภายในตัว โดยหากใครต้องการเอาไปใช้งาน คัดลอก หรือดัดแปลง ก็จะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่มันก็มีข้อยกเว้นอยู่ได้หลายกรณีครับ โดยเราจะมาเริ่มต้นกันที่ Fair Use หรือในภาษาไทยน่าจะแปลว่า การใช้งานอย่างเป็นธรรม
ในกรณีของ Fair Use เป็นเหมือนตัวยกเว้นให้กับการใช้งานผลงานที่มีลิขสิทธิ์ โดยจะเป็นการใช้งานได้ในหลายกรณี โดยส่วนใหญ่ การใช้งาน Fair Use จะมีกฎเกณฑ์ที่สามารถนำไปใช้งานได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น ให้เครดิตกับเจ้าของลิขสิทธิ์ ไม่เปิดการสร้างรายได้จากเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือจะเป็นการจ่ายเงินซื้อสำเนาของเนื้อหาที่ต้องสงสัย
การให้เครดิตเอง เป็นสิ่งที่ง่ายที่สุด ที่เราสามารถใช้งานเพื่อ Fair Use และก็ได้รับความนิยมอย่างมาก ในงานที่จำเป็นต้องการข้อมูลเพื่อใช้ในการอ้างอิง เหมือนเวลาที่ผมต้องเขียนบทความที่ต้องมีแหล่งที่มาอย่างชัดเจน เราเองก็ไม่สามารถสร้างความหมายใหม่ๆ ขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องไปอ้างอิงจากที่อื่น ไม่ว่าจะเป็นบนโลกอินเทอร์เน็ต หรือหนังสือ เราก็ควรจะใส่รายละเอียดที่มา พร้อมแนบลิงก์เว็บ เพื่อกลับไปยังแหล่งที่มาได้ หรือจะเป็นการที่เราดาวน์โหลดรูปภาพหรือกราฟิกจากเว็บไซต์ต่างๆ มันก็จะมีเครดิตของผู้สร้างเอาไว้ให้ เราก็สามารถเอาไปใส่เพื่อเป็นการให้เครดิตกับผู้สร้างครับ
แต่ถึงแม้ว่าเราอาจจะใส่ชื่อ หรือเครดิตให้แล้ว เราก็ต้องมาดูด้วยว่าเว็บไซต์ต้นทาง หรือคนสร้างนั้นมีเงื่อนไขอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างเช่น ผู้สร้างผลงานอาจจะให้เราเอาภาพนั้นไปใช้งานในเชิงไม่สร้างรายได้ หรือทำงานเพื่อหาเงิน ก็ต้องดูกันไป โดยมันจะมีการเขียนระบุไว้อย่างชัดเจน ผมแนะนำว่าเราควรจะศึกษาข้อมูลให้ดี กันได้ดีกว่าต้องไปขึ้นศาลครับ อย่างเช่นหากเป็นเว็บไซต์รูปภาพที่ผมใช้งานอยู่ ผมเป็นสมาชิกแบบ Premium ซึ่งผมสามารถดาวน์โหลดได้ทุกอย่าง และสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ผมก็จะสามารถใช้งานได้ โดยไม่ต้องใส่เครดิตก็ได้ แต่ถ้าเป็นเว็บไซต์อื่น ที่ผมใช้งานฟรี ผมก็ยังต้องให้เครดิตและทำตามกฎที่ทางเว็บไซต์เป็นตัวกำหนดครับ
หรือจะเป็นการสร้างงานโดยไม่ให้มีรายได้ขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่นงานวิดีโอบนช่อง Youtube ของเรา ในวิดีโอชิ้นนั้น เราก็จะไม่สามารถสร้างรายได้ ซึ่งเราก็สามารถยืนยันไปทางต้นทางผลงานได้ว่า เรานั่นได้ตั้งค่าวิดีโอของเรา ให้เป็นการไม่สร้างรายได้ เพื่อที่จะเป็นการปิดการสร้างรายได้จากเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์
หรือถ้าเราอยากจะได้ผลงานชิ้นนั้นมากๆ และไม่รู้จะทำอย่างไร ก็แนะนำให้ลองติดต่อเจ้าของผลงาน เพื่อยื่นข้อเสนอในการซื้อขายผลงานได้ ซึ่งในปัจจุบันก็มีแพลตฟอร์มมากมาย ในการรวบรวมผลงานที่ผู้สร้างสรรค์ผลงานได้นำมาโพสต์ หรือเอามาวางขายอยู่ทั่วไป ตั้งแต่งานบทความ งาน Stock ภาพถ่ายหรือวิดีโอ เพลง ฟอนต์ซึ่งเราก็สามารถซื้อมาได้ เพื่อใช้งานได้อย่างถูกลิขสิทธิ์นั่นเองครับ
การใช้งาน Fair Use ยังอาจจะต้องพิจารณาอีก 4 หัวข้อ
ซึ่งส่วนใหญ่เราจะคำนึงถึง 4 หัวข้อ เพื่อจะเป็นการพิจารณาในเรื่องของ Fair Use ซึ่งจะประกอบไปด้วย
1. เรื่องของวัตถุประสงค์ และลักษณะของการใช้งาน
โดยที่เราต้องดูก็คือการ ดูว่ามีการใช้งานในประเภทงานแบบใด ซึ่งมันจะรวมถึงเรื่องของการใช้งานทางด้านเชิงพาณิชย์หรือเพื่อการศึกษาแบบไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งต้องเอาไว้ใช้เพื่อการอ้างอิงข้อมูลเฉยๆ อันนี้ก็อาจจะทำได้ในขอบเขตของ Fair Use ซึ่งถ้าไม่คัดลอกมาทั้งหมด แล้วเอาไปใช้เลย แม้ว่ามันอาจจะไม่ได้ทำงานในเชิงพาณิชย์นั่นก็ถือว่าผิดลิขสิทธิ์ แต่ถ้าหากนำไปอ้างอิง พร้อมเพิ่มเติมแสดงความคิดเห็น ไม่มีการทำให้เกิดความเสียหาย ไม่หมิ่นประมาท ก็ค่อนข้างจะไม่เป็นปัญหาอะไรครับ
2. รูปแบบลิขสิทธิ์ของงาน
อันนี้น่าจะเข้าข่ายกับงานที่ต้องการความถูกต้องของเนื้อหา เช่นการอ้างอิงผลงานการวิจัย หรือการอ้างอิงความหมาย นิยามของคำศัพท์ เพื่อความถูกต้องมักจะเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์แบบ Fair Use ครับ ซึ่งมันจะต่างจากงานที่แต่งขึ้นมาโดยไม่ได้ทำเพื่อสร้างข้อเท็จจริงใหม่ๆ
3. จำนวน ปริมาณหรือสัดส่วนที่มีการนำไปใช้
ยิ่งจำนวนหรือปริมาณที่เราไปหยิบยืมงานของคนอื่นมาน้อยมากแค่ไหน ก็ยิ่งนับว่าเป็น Fair Use มากเท่านั้นครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราสามารถเข้าใจกันได้ว่ายอยู่แล้ว ยกเว้นการที่เราไปเอามาแบบน้อยก็จริง แต่นั่นเป็นหัวข้อหรือใยความหลักของงาน แบบนี้ก็ถือว่าไม่ได้เป็นการใช้งานแบบ Fair Use ครับ ยกตัวอย่างเช่น หากผมอยากจะเขียนบทความที่เกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ แล้วผมไปเอาข้อมูลมาจากเว็บไซต์ผู้ผลิตมา และผมก็ไปเอาข้อความบทสรุปของสินค้ามาใส่ในผลงานของผม แม้ว่าจะเป็นเพียงข้อความสั้นๆ แต่ถ้าหากเจ้าของผลงานหรือผู้เขียนคนนั้นมาเห็น ก็อาจจะฟ้องร้องได้ และหากไปถึงศาล เราก็อาจจะเป็นฝ่ายผิดครับ เพราะงั้นแล้วหากต้องการใช้ข้อมูลแนวนั้น ก็ควรจะลองเขียนสรุปให้เป็นภาษาของเราเองจะดีที่สุดครับ
4. การส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์หรือรายได้ของตัวผลงาน
ถ้าเราเป็นศิลปิน เราก็คงไม่อยากให้มีใครมาดูดผลงานของเราเอาไปปล่อยขายที่อื่นในราคาที่ถูกกว่าหรอกใช่ไหมครับ นั่นเองที่เป็นหัวใจหลักของเหตุผลข้อนี้ เพราะการที่มีคนเอางานหรือผลงานของเราไปลงที่อื่น ทำให้เราอาจจะสูญเสียรายได้ไป นั่นก็ถือว่าเขาได้ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ครับ เช่นในปัจจุบันมีการดูดคลิปจาก Youtube ช่องดังๆ เอาไปลงผ่านแพลตฟอร์มวิดีโอต่างๆ แล้วทำให้ยอดการรับชมของคนที่ดูดคลิปไปนั้นสูงขึ้น โดยที่ผู้ชมผ่านช่องนั้นไม่ได้รู้เลยว่า เจ้าของตัวจริงคือใคร นี้ก็เป็นการทำให้เจ้าของผลงานตัวจริงสูญเสียรายได้จากการรับชมผลงาน แถมยังไปสร้างรายได้ให้กับผู้ที่ดูดวิดีโอไปลงอีก นั่นเรียกว่าทำผิดหลายอย่างเลยครับ ทางที่ดีหากเราได้พบเห็นแบบนั้น ก็ควรจะกดรายงานไปยังต้นสังกัดแพลตฟอร์มนั้นๆ เพื่อทำการลบคลิปครับ
ลิขสิทธิ์ เครื่องหมายการค้า และสิทธิบัตรคือคนละอย่างกัน
ด้วยความที่ว่า เราอาจจะเคยได้ยินคำทั้ง 3 คำนี้ แล้วเกิดความสงสัย ว่ามันเหมือนกันหรือไม่ ซึ่งต้องบอกตรงนี้ว่า ทั้ง 3 อย่างที่ว่ามานี้ มันเป็นเพียงทรัพย์สินทางปัญญารูปแบบหนึ่งเท่านั้นครับ เช่นเครื่องหมายการค้าซึ่งป้องกันไม่ให้ผู้อื่นใช้ชื่อแบรนด์ คำขวัญ โลโก้ และตัวระบุแหล่งที่มาอื่นๆ เพื่อวัตถุประสงค์หนึ่งๆ โดยที่จะแตกต่างจากกฎหมายสิทธิบัตรที่คุ้มครองการคิดค้นต่างๆ ครับ
จริงๆ มันก็มีอีกหลายเรื่องที่อาจจะต้องทำความเข้าใจกับเรื่องของลิขสิทธิ์นะครับ เพราะผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนมากๆ และเราเองก็ได้เห็นเรื่องราวมากมายที่เป็นข่าว หรือดราม่าในยุคปัจจุบัน ผมเลยอยากจะแนะนำว่า ให้ลองศึกษาเงื่อนไข หรือข้อจำกัดในการใช้งาน ผลงานการออกแบบที่มีลิขสิทธิ์โดยเฉพาะครับ แล้วเราก็จะเห็นได้ว่า เรื่องของลิขสิทธิ์นั้นมันอยู่รอบตัวเรา และเป็นเรื่องที่สามารถพูดคุยกันได้นั่นเองละครับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น