7 วิธีป้องกันตัวเองจาก Fake News ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของผู้ไม่หวังดี

https://trueid-ugc-prod.b-cdn.net/partner_files/trueidintrend/233030/cover_image/ปก-TrueID-1.jpg?&width=1600

ในยุคปัจจุบันที่สำนักข่าวต่างและผู้คนบนโลกออนไลน์กำลังพยายามแบ่งปันข้อเท็จจริง ความคิดเห็น และคำแนะนำเกี่ยวกับโควิด-19 แต่ด้วยข้อมูลที่มีอยู่อย่างล้นหลามมากมายนั้น คุณจะรู้ได้อย่างไรว่ามันเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นจริงมากที่สุด วันนี้เรามานำเสนอวิธีการป้องกันตัวเองจาก Fake News กันก่อนที่จะแชร์ข้อมูลต่อไปยังผู้อื่น


1. ให้ความสนใจกับที่มาของข่าวของคุณ

ถ้ามันมาจาก Feed Twitter Facebook หรือ Instagram ของคุณ อย่าคิดว่ามันเป็นข้อมูลทีต้องเสมอไป ต้องถามตัวเองว่า ข้อมูลเหล่านี้มาจากใครแลที่ไหน? หากบทความที่คุณอ่านนั้นทำให้เกิดข้อสงสัย ต้องให้ถามตัวเองว่า ใครได้ประโยชน์นี้ แหล่งข้อมูลคืออะไร?  หากรู้สึกว่ามันแปลก ๆ ที่จะมีข่าวสารแบบนี้ ก็อาจจะเป็น Fake News ได้ในระดับหนึ่ง ไม่ควรแชร์ต่อแล้วThe Truth about Fake News : Common Experience : Texas State University

https://assets.ey.com/content/dam/ey-sites/ey-com/en_gl/topics/assurance/ey-boy-holding-newspaper.jpg


2. หากคุณได้รับข้อมูลจากโซเชียลมีเดีย ให้ตรวจสอบแหล่งที่มา

Kristy Roschke ผู้อำนวยการของ News CoLab ใน Walter Cronkite School กล่าวว่า "เมื่อมีคนถามคุณว่าคุณได้ยินจากที่ใด หากคุณชอบบอกว่ามากจาก Twitter คุณควรต้องหยุดและตรวจสอบเพราะตัว Twitter เองไม่ได้บอกอะไรคุณเลย" วิธีการสังเกตคือข้อมูลเหล่านั้นมีต้นทางมาจากไหน เป็นแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือหรือไม่? เพราะโลกออนไลน์เราสามารถเป็นใครก็ได้ และจะทำอย่างไรก็ได้ เราอาจจะไม่รู้เลยด้วยซ้ำว่า ข้อมูลเหล่านั้นเป็นจริง หรือเพียงสร้างขึ้นมาเพราะต้องการหลอกลวงผู้อื่น เพราะฉะนั้น หากเป็นข้อมูลบนโลกออนไลน์แล้ว ควรคิดไตร่ตรองและตรวจสอบแหล่งที่มาก่อนเสมอ

https://learn.safeinternet.camp/data-file/courses/thumbnail/130420132105-subjects-2.png


3. ภายในบทความข่าว ให้ตรวจสอบวิธีการเขียน และการรวมแหล่งที่มา

"ให้เรามองหาวิธีการเขียนและอ้างอิงแหล่งที่มา" Ruston กล่าวคือ นักข่าวจริง ๆ ที่ทำงานให้กับสำนักข่าวเช่น AZ Central, CNN และ New York Times นั้นจะมีแนวทางปฏิบัติด้านจริยธรรมระดับมืออาชีพ และจะยืนยันแหล่งที่มาของพวกเขาได้ดี โดยที่ดีที่สุดคือเมื่อมีการตั้งชื่อแหล่งที่มา สิ่งที่รองลงมาคือเมื่อมีการปกปิดชื่อเพื่อปกป้องแหล่งที่มา อย่างไรก็ตาม เราสามารถเริ่มสงสัยได้เมื่อบทความหรือข่าวสารนั้นมีการเขียนที่แปลก ๆ พวกคำรุนแรง คำชวนเชื่อต่าง ๆ และการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้นไม่ได้รับการยืนยัน


4. อย่าอ่านเพียงคำพาดหัวข่าว

สิ่งสำคัญคือต้องอ่านเรื่องราวให้ครบถ้วน ในบ่อยครั้งที่คำพาดหัวข่าวนั้นทำให้เข้าใจผิด และไม่ได้มีการออกมาชี้แจงข้อผิดพลาดเหล่านั้น จุดประสงค์ของพาดหัวข่าวคือ เพื่อให้คุณนั้นคลิกลิงก์หรือเพื่อการขายข่าวให้มีคนเข้ามาอ่าน บรรณาธิการอาจจะเขียนพาดหัวข่าวเพื่อดึงความสนใจของคุณ และบ่อยครั้งที่ผู้เขียนพาดหัวข่าวไม่ได้เขียนเรื่องราวอะไรมาก ดังนั้นผู้อ่านส่วนใหญ่จึงเข้าใจเนื้อหาได้น้อยลง และอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้

https://www.nsm.or.th/images/IT-Category/IT-Article/FakeNews_/unnamed.jpg


5. รับข่าวสารจากแหล่งต่าง ๆ เพิ่มเติม

ถ้าคุณอ่านอะไรบางอย่าง และมันทำให้คุณเกิดปฏิกิริยาอารมณ์ที่รุนแรง ความขุ่นเคือง หรือความสุขยินดี นั่นเป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนว่าคุณควรอ่านอย่างลึกซึ้งให้มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างการบิดเบือนข้อมูลจำนวนมากที่เราพบในการวิจัย ได้รับการออกแบบมาเพื่อไม่ก่อหรือเพื่อกระตุ้นการตอบสนองความโกรธหรือความกลัวอย่างแรง เราทุกคนควรตรวจสอบกับแหล่งข่าวเพิ่มเติมเพื่อยืนยันข้อมูลที่เราได้รับนั้นมันน่าโกรธ หรือความสุขยินดี


6. เมื่อเห็นใครก็ตามที่แบ่งปันข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ต้องแจ้งเพื่อให้แก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง

เราจำเป็นต้องแจ้งข่าวสารที่ถูกต้อง แบบมีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจน เพราะการที่กลุ่มเล็ก ๆ กระจายข่าวสารหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนั้นอาจจะส่งผลกระทบอย่างวงกว้าง และไม่แน่ที่บางสำนักข่าวในปัจจุบันก็เอาข้อมูลเหล่านั้นไปเผยแพร่ต่อ จนกลายเป็นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ แม้ว่าข้อมูลหรือบทความนั้นจะมีการยืนยัน แต่เราควรอ่านให้ละเอียด เพราะคนที่เอามาเผยแพร่ต่ออาจจะตีความผิดไป หรือการแปลที่ผิดพลาดก็เป็นได้ หากเราคิดว่านั้นเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เราจะเป็นต้องแจ้งเขาให้รู้ อาจจะทักไปคุยในที่ส่วนตัวอย่างสุภาพ และอธิบายในสิ่งที่ถูกต้อง หากเราทำแบบนี้บ่อย ๆ เราจะเปลี่ยนพวกเขาให้สามารถจำในสิ่งที่ถูกต้องและพัฒนาการรับรู้ข่าวสารจากที่ต่าง ๆ มากที่สุด


7. ค้นหาข้อมูลอื่น ๆ ที่มีอยู่

Nadya Bliss กรรมการบริหารของ Global Security Initiative ได้กล่าวว่า “ฉันเชื่อในความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริง ซึ่งเป็นเหตุผลที่ฉันชอบ NPR มากในฐานะแหล่งข่าว เพราะมีความเชี่ยวชาญอย่างมากทั้งจากมุมมองของความจริยธรรมของนักข่าว และในการเลือกแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ” หลายคนอาจจะเคยเห็นทวีต หรือโพสอะไรบางอย่าง และคิดว่ามันน่าสนใจ เราก็สามารถเอาข้อมูลเหล่านั้นไปค้นหาผ่าน Google ว่ามีบทความหรือแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือมากพอหรือไม่ เราอาจจะได้คำตอบที่ถูกต้องและละเอียดมากยิ่งขึ้นก็ได้

ถึงแม้ว่าการต้องไปตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารแบบ หาแล้วหาอีกนั้นอาจจะทำให้เสียเวลาและอาจจะเป็นเรื่องยากที่จะหาต้นตอความเป็นจริง แต่ในที่สุดมันอาจจะช่วยให้คุณนั้นจะช่วยลดความตระหนก และอาจจะช่วยให้คนรอบข้างของคุณนั้นได้รับข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุด

https://images.theconversation.com/files/263351/original/file-20190312-86696-qqd56h.jpg?ixlib=rb-1.1.0&q=45&auto=format&w=926&fit=clip

และแม้ว่าข่าวที่เราจะได้รับ หรือข้อมูลต่าง ๆ จะเป็นของแหล่งที่มาแบบได้รับความเชื่อถือมากแค่ไหน แต่เราก็ควรรับข่าวสารจากหลาย ๆ สื่อ สำนักข่าว เพราะเพียงแค่ 1 ที่นั้นก็ไม่ได้การันตีว่า ข้อมูลเหล่านั้นเป็นจริง และแม้จะได้รับการยืนยันก็ตาม แต่ก็มีหลายครั้งที่สื่อเหล่านั้นก็เกิดการสื่อสารแบบผิดพลาด เพราะฉะนั้นสิ่งที่เรา ๆ นั้นต้องทำการคือการคิด ไตร่ตรอง ตรวจสอบก่อนทุกครั้งที่จะแชร์ต่อออกไปนั้นเอง


นอกจากนี้เรายังสามารถตรวจสอบรายชื่อ Fake News Websites ได้เพื่อการตรวจสอบก่อนว่าข้อมูลที่ได้รับไม่ได้มาจากแหล่งที่มาเหล่านี้

แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น