และนอกจากนั้น ทาง Lego Group ก็ได้มีการจับมือร่วมกับธุรกิจภาพยนตร์และการ์ตูนมากมาย เพื่อเอาตัวละครหรือธีมของการ์ตูนชื่อดังมากมาย มาทำเป็นชุดซีรีส์พิเศษของ Lego ครับ ซึ่งอย่างที่เราได้เห็นกันบ่อยๆ เช่น Batman , Indiana Jones , Pirates of the Caribbean , Harry Potter , Star Wars และ Minecraft ซึ่งส่วนตัวผมชอบชุด Lego City มากที่สุดครับ เพราะผมชอบจินตนาการในการสร้างเมือง สร้างชีวิตให้กับชาวเมือง Lego ที่ผมมีอยู่ครับ
ผู้อ่านหลายท่านคงต้องเคยผ่านการเล่นของเล่นตัวต่อสุดแสนจะสร้างสรรค์อย่าง Lego ของเล่นที่สามารถเล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ของเล่นที่หลายคนให้ความสนใจ เพราะมีทั้งรุ่นแบบปกติที่เป็นตัวต่อแบบดั้งเดิม หรือจะเป็นตัวต่อในรูปแบบต่างๆ แต่ท่านผู้อ่านเคยสงสัยไหมว่า จริงๆ แล้ว ตัวต่อ Lego นี้มันมีที่ไปที่มาอย่างไร และทำไมมันถึงหลายเป็นตัวต่อที่มีความนิยมอันดับต้นๆ ของโลกเราครับ
Lego คืออะไร
Lego คือของเล่นตัวต่อยี่ห้อหนึ่ง ที่มีนิยมและความเป็นมาที่ยาวนานมากๆ โดยหากจะย้อนกลับไปตั้งแต่จุดกำเนิด ก็ต้องบอกว่า Lego มีต้นกำเนิดมาจากประเทศเดนมาร์ก เมื่อปี 1932 ซึ่งก่อนจะเกิดเป็น Lego นั้น เจ้าของธุรกิจเฟอร์นิเจอร์อย่าง Ole Kirk Kristiansen ได้พบเจอกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ ทำให้เขาได้ลองหาวิธีในการสร้างรายได้เพิ่มเติม โดยเริ่มเอาไม้มาทำของเล่น กระปุกออมสินดึงได้ ของเล่นรถประกอบได้ และในยุคนั้นก็มีคนเริ่มสนใจ ภายหลังบริษัทก็ได้พัฒนาวัสดุและเพิ่มการผลิตของเล่นมากขึ้น ซึ่ง 1 ในนั้นคืออิฐบล็อกล็อกด้วยตัวเอง ซึ่งสร้างด้วยพลาสติก และบริษัทเองก็เห็นว่าน่าจะไปได้ไกล จึงยื่นจดสิทธิบัตร และก็ได้เกิดเป็นการพัฒนาบล็อกตัวต่อมาจนถึงปัจจุบันครับ ซึ่งเอาจริงๆ กว่าจะมาเป็น Lego ที่เราได้เห็น ได้เล่นในปัจจุบันนี้ มันก็ผ่านเรื่องราวมากมาย ซึ่งหากใครสนใจ ผมอยากให้ทุกท่านไปรับชมวิดีโอสารคดี Animation ที่จะเล่าถึงประวัติของ Lego ได้อย่างดีเลยละครับ
Lego มีธีมและซีรีส์อะไรบ้าง?
ต้องบอกว่า Lego นี้มีการออกแบบและพัฒนารูปแบบ รวมถึงซีรีส์มากมายขึ้นมาครับ ซึ่งถูกเริ่มมาตั้งแต่ปี 1950 ทาง Lego Group ก็ได้เปิดตัวซีรีส์ต่างๆ ของรูปแบบตัวต่อครับ ตั้งแต่ซีรีส์ Space(อวกาศ), robots(หุ่นยนต์), pirates(โจรสลัด), trains(รถไฟ), Vikings(ไวกิ้ง), castle(ปราสาท), dinosaurs(ไดโนเสาร์), undersea exploration(การสำรวจใต้ทะเล) และชุดตะวันตก ซึ่งอันนี้คือซีรีส์ในรุ่นแรก และก็มีการเพิ่มชุดอื่นๆ ตามเข้ามา ทั้ง Lego City และ Lego Technic (ที่เป็นชุดจำลองเรื่องกลไกลเครื่องจักรที่ซับซ้อนมากขึ้น
และนอกจากนั้น ทาง Lego Group ก็ได้มีการจับมือร่วมกับธุรกิจภาพยนตร์และการ์ตูนมากมาย เพื่อเอาตัวละครหรือธีมของการ์ตูนชื่อดังมากมาย มาทำเป็นชุดซีรีส์พิเศษของ Lego ครับ ซึ่งอย่างที่เราได้เห็นกันบ่อยๆ เช่น Batman , Indiana Jones , Pirates of the Caribbean , Harry Potter , Star Wars และ Minecraft ซึ่งส่วนตัวผมชอบชุด Lego City มากที่สุดครับ เพราะผมชอบจินตนาการในการสร้างเมือง สร้างชีวิตให้กับชาวเมือง Lego ที่ผมมีอยู่ครับ
Lego ตระกูลหุ่นยนต์ Mindstorms
เช่น Lego Mindstorms , Lego Mindstorms NXT , Lego Mindstorms NXT 2.0 และ Lego Mindstorms EV3 ซึ่งจะเป็นการขยายความคิดสร้างสรรค์และเพิ่มทักษะการเรียนรู้เรื่องของเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมการทำงานทั้งหมดของ Lego ตระกูลหุ่นยนต์ครับ
ผมต้องอธิบายก่อนว่า พวกตระกูลหุ่นยนต์นั้น ถูกผลิตมาเพื่อให้ผู้เล่นได้ฝึกการเขียนโปรแกรม โดยการลากคำสั่งมาวางต่อๆ กันเหมือนกับการต่อตัวต่อ Lego แต่ในนี้จะเป็นการต่อเพื่อให้เกิดเป็นคำสั่ง เงื่อนไขต่างๆ ตามแล้วแต่จินตนาการต้องการ โดยใจความสำคัญของของเล่นชิ้นนี้ คือการพัฒนาการเรียนรู้ การแก้ไข ลองผิดลองถูกต่างๆ เพื่อให้เกิดเป็นผลลัพธ์ที่ต้องการ ซึ่งก็มีการปรับปรุง และออกแบบใหม่หลายครั้ง ซึ่งจะสามารถเอานู่นเอานี้มาจับผสมกัน เพื่อทำในภารกิจที่เราต้องการ โดยจะประกอบด้วยเซ็นเซอร์ที่ตรวจจับการสัมผัส แสง เสียง และคลื่นอุลตร้าโซนิค โดยส่วนอื่นๆ
ซึ่งต้องบอกเลยว่า พวกตระกูลหุ่นยนต์เหล่านี้ได้รับความนิยมมากขึ้นอย่างมากในยุคปัจจุบันครับ ในต่างประเทศก็มีหลักสูตรการเขียนโปรแกรม เพื่อควบคุม Lego Mindstorms เพื่อทำภารกิจต่างๆ จนถึงมีการแข่งขันกันระดับโลกกันเลยทีเดียว (ซึ่งผมก็เคยเข้าร่วมการแข่งขันนะครับ แต่ไปไกลได้สุดที่ระดับภาคครับ)
ธุรกิจอื่นๆ Lego ก็ทำ
เพราะ Lego เองก็ไม่ได้อยากจะหยุดอยู่เพียงการเป็นของเล่นตัวต่อเท่านั้นครับ ทำให้ทาง Lego นั้นเพิ่มธุรกิจที่ต่อยอดมาจากการเป็นของเล่นตัวต่อ นั้นคือการเข้าสู่วงการภาพยนตร์ Animation ที่ใช้ตัวละคร ฉากและตัวต่อจาก Lego มาเป็นพื้นฐานของเรื่องราวในภาพยนตร์ Animation นั้นเอง โดยเราอาจะได้ยินเช่น The Lego Movie ที่มีมาถึง 2 ภาคแล้วละครับ ซึ่งตอกย้ำความสำเร็จของภาพยนตร์ Animation ที่ใช้ตัวต่อ Lego มาประกอบการทำภาพยนตร์ Animation
หรือจะเป็นธุรกิจเว็บไซต์อย่าง Lego Life ที่สร้างขึ้นมา เพื่อให้เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี สามารถเข้ามาเพื่อออกแบบ และสร้างสรรค์แบบ Lego ในแบบที่ต้องการ โดยจะสามารถทำเป็นเหมือน Community สำหรับเด็กๆ รวมถึงสร้างสามารถฉากหรือจำลองสถานการณ์ภาพในเว็บนั้นได้เลย
หรือจะเป็นสวนสนุกอย่าง Lego Land จำนวน แห่ง โดยมีที่ประเทศเดนมาร์ก อังกฤษ เยอรมนี คาร์ลสแบด (รัฐแคลิฟอร์เนีย) วินเทอร์เฮเวน (รัฐแคลิฟอร์เนีย) มาเลเซีย ดูไบ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ประเทศญี่ปุ่น และกำลังวางแผนสร้างเพิ่มที่นิวยอร์ก (สหรัฐอเมริกา) และเซี่ยงไฮ้ (จีน) คือถ้านับตามจำนวนสวนสนุกที่เปิดขึ้นมา ก็อาจจะตอบคำถามถึงความสำเร็จของธุรกิจสวนสนุกของ Lego แล้วละครับ
นอกจากนี้ก็ยังมีร้านค้าปลีก ที่ขาย Lego อยู่ทั่วโลก หรือจะเป็นการทำวิดีโอเกม เกมกระดาน รายการโทรทัศน์ หนังสือการ์ตูน นิตยสาร เสื้อผ้า หรือแม้แต่กระทั้งเป็นผู้ให้คำปรึกษาทางด้านธุรกิจกันเลยทีเดียว ก็เรียกได้ว่าไม่น่าเป็นที่แปลกใจเท่าไหร่ กับความสามารถและความพยายามของ Lego ที่กว่าจะมาเป็นวันนี้ได้ ก็ผ่านอะไรมาเยอะเหมือนกันครับ
ประโยชน์ของการเล่น Lego
คืออย่างที่เราทราบกันดี แม้ว่า Lego จะเป็นของเล่น แต่ก็เป็นของเล่นที่ค่อนข้างมีประโยชน์ในการเล่นครับ ยกตัวอย่างเช่น
เป็นการพัฒนาทางด้านร่างกายสำหรับเด็กๆ
เพื่อทำให้ร่างกายได้เกิดการพัฒนาทักษะในการหยิบ จับ และเอามาต่อกัน ซึ่ง Lego เองก็เหมาะสำหรับเด็กเล็ก โดยเฉพาะในรุ่นของ DUPLO ซึ่งมันจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวต่อ Lego แบบปกติถึง 2 เท่า เอาไว้กันเด็กเล็กเอาเข้าปากนั้นเอง มีการใช้สีที่มีมาตราฐานสำหรับของเล่นเด็ก และก็ยังมีลักษณะที่เหมือนกับ Lego รุ่นปกติ แถมยังสามารถต่อกับตัวต่อรุ่นปกติได้ด้วย จะได้เอาเล่นต่อได้ตอนที่โตพอจะเล่นรุ่นปกติครับ
เพราะตัวต่อ Lego นั้นอาจจะต้องต่อตัวต่อให้ถูกตำแหน่งตามที่คู่มือให้มา เพราะฉะนั้นเด็กก็จะได้มีสมาธิในการต่อ เพื่อให้เหมือนตัวต้นแบบนั้นเอง ซึ่งในกระบวนการนี้ จะได้เป็นการฝึกเด็กให้มีความอดทน แม้ว่าจะต่อผิดก็ไม่เป็นไร เราก็สามารถถอดออกมาแล้วก็ค่อยเริ่มต่อใหม่ก็ได้ครับ โดยถ้าผู้ปกครองจะซื้อให้ ก็ลองหาชุดเล็กๆ ก่อน จะได้ให้เด็กค่อยๆ ฝึก และเพิ่มขนาดชุดที่ใหญ่ขึ้นเมื่อเด็กมีความสนุกไปด้วยครับ
เป็นการพัฒนาทางด้านความคิดสร้างสรรค์
และน่าจะเหมือนกับเด็กหรือผู้ใหญ่ทั่วไป เมื่อเราได้ต่อตัวต่อในแบบที่คู่มือหรือแบบที่กำหนดมาแล้ว หากเรามีตัวต่อที่เพียงพอ เราก็จะสามารถสรรค์สร้างรูปแบบตัวต่อในรูปแบบอื่นๆ ตามสิ่งที่เราอยากจะต่อได้เลยครับ และหนึ่งในคุณสมบัติที่ดีมากๆ ในของเล่น Lego ที่อาจหาในของเล่นอื่นๆ ได้ยาก นั้นคือความคล่องตัวในการถอดเข้าและเสียบเข้าไป และรูปทรงที่เป็นพื้นฐาน เหลี่ยม ทำให้เราสามารถนำไปต่อเป็นอะไรก็ได้ตามที่ต้องการครับ สิ่งที่ผมได้ถูกสอนมา คือเมื่อเราต่อตัวต่อเสร็จแล้ว ผู้ปกครองก็จะถามว่ามันคืออะไร หลังจากนั้นผมก็จะตอบในสิ่งที่ผมได้จินตนาการเอาไว้ อันไหนไม่มี ก็จะลองหาอันอื่นๆ มาจิตนาการแทน ซึ่งมันส่งผลมาถึงปัจจุบัน ในการคิดงานเลยละครับ
เนื่องจากตัวต่อ Lego ที่เรามีนั้น อาจจะไม่พอสำหรับการสร้างเป็นชิ้นงานในรูปแบบอื่นๆ นะครับ มันก็จะต้องมีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการคิด จินตนาการ และดัดแปรงเพื่อให้กลายเป็นชิ้นงานตามที่เราจินตนาการไว้
จริงๆ หากเราได้มองย้อนกลับไป ดูตั้งแต่ก่อนจะมาเป็น Lego ที่เราเล่นในตอนนี้ ก็มีบทเรียนที่เราสามารถเรียนรู้จากสิ่งเหล่านี้ได้ครับ เพราะอย่างคุณ Ole Kirk Kristiansen ที่ได้เป็นผู้คิดค้น สรรค์สร้างของเล่นชิ้นนี้ เขาก็ได้พบเจอกับเรื่องราวมากมาย ทั้งเรื่องที่ดีและแย่ แต่เขาเองก็ไม่ย่อท้อ และพยายามทำให้ทุกอย่างนั้นออกมาดีที่สุดครับ
ของเล่นชิ้นนี้ก็คงเป็นของเล่นในการเสริมสร้างจินตนาการ และทำให้ก่อเป็นความคิดสร้างสรรค์ เพื่อต่อยอดไปเป็นของเล่นหรือไอเดียสำหรับการก่อสร้างสิ่งใหม่ๆ ต่อไปในอนาคตเลยละครับ ผมก็อยากจะให้ผู้ปกครองได้เปิดใจกับของเล่นเหล่านี้ ว่ามันจะคุ้มค่าต่อการลงทุน ซื้อให้เด็กๆ ได้เล่น ได้ลองในสิ่งที่เขาอยากจะลอง เพราะผมเชื่อว่า เมื่อเด็กเหล่านั้นเติบโตขึ้นมา พวกเขาก็จะมีความคิดใหม่ๆ และจะได้อยู่กับโลกของเราไปอีกนานๆ เลยละครับ
ขอขอบคุณข้อมูลประกอบข้อมูล lego | brickrecycler | lego | lego | wikipedia
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น