อัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ ขึ้นอยู่กับอะไร? เงินแข็งค่าขึ้น อ่อนค่าลงส่งผลอย่างไร

ในช่วงนี้เราอาจจะเคยได้ยินข่าวบอกว่า "ตอนนี้ค่าเงินของหลายประเทศกำลังแข็งค่าขึ้น" หรือ "กำลังอ่อนค่าลง" หากเราไม่ได้คิดอะไรมาก การที่แข็งค่าขึ้นก็อาจจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้น แต่ถ้าลองมานั่งดูกันดีๆ สรุปถ้าแข็งค่าขึ้นกับอ่อนค่าลง จะมีอะไรเกิดขึ้น แล้วมันจะเกี่ยวกับอะไร ในบทความของ TamKung วันนี้เราจะคุยกันถึงเรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินต่างประเทศ ขึ้นอยู่กับอะไร? แล้วเงินแข็งค่าขึ้น อ่อนค่าลงส่งผลอย่างไร

{tocify} $title={Table of Contents}


ก่อนอื่นต้องเข้าใจกันถึง "อัตราแลกเปลี่ยนเงิน" 

ที่เราอาจตะคุ้นเคยกันในสกุลเงินไทยบาทกับดอลลาร์สหรัฐ ที่เราจะชอบคำว่า 1 บาท = 35 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งความเป็นจริงตอนนี้อาจจะต้องเป็น 1 บาท = 33 ดอลลาร์สหรัฐ ว่าแต่การเอาเปรียบเทียบกันแบบนี้ จะทำอะไรได้บ้าง แล้วทำไมต้องมีการแลกเปลี่ยนเงินแบบนี้ด้วย




ความจริงแล้วอัตราแลกเปลี่ยนมันคือ ราคาของเงินสกุลหนึ่ง ไปเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่นเงินของประเทศจีนหรือ Chinese Yuan Renminbi(CNY) ที่จะมีมูลค่า 5 บาท ก็จะเท่ากับว่า เงิน 1 CNY เราก็สามารถแลกได้ 5 บาท หรือจะเท่ากับสามารถแลกได้ 0.1 CNY นั้นเอง ในส่วนของการใช้งานหลักๆ ของคนทั่วไปก็คือแลกเพื่อใช้เวลาไปยังประเทศนั้นๆ เพื่อการท่องเที่ยวหรือการทำธุรกิจต่างๆ ครับ

ต่อมาหากเราได้ฟังข่าว เราอาจจะได้ยินคำที่ว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นหรืออ่อนค่าลง มันหมายความว่าอะไร? โดยที่จะสามารถอธิบายได้ง่ายๆ เลยนั้นคือ หากเป็นเงินบาทแข็งค่าขึ้นก็จะหมายความว่าเงินบาทมีราคาแพงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น เช่น เงินบาทแข็งค่าขึ้นจาก 30 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 20 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ และถ้าหากเป็นเงินบาทอ่อนค่าลง นั้นหมายความว่า เงินบาทมีราคาถูกลงเมื่อเทียบกันเงินสกุลอื่นนั้นเอง เช่น เงินบาทอ่อนค่าลงจาก 30 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 40 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ




ใครเป็นคนกำหนดว่า ค่าเงินบาทต้องเท่ากับกี่ดอลลาร์สหรัฐ?

จริงๆ แล้วเงินบาทก็เป็นเหมือนสินค้าที่จะถูกกำหนดโดยกลไกการตลาดอย่าง อุปสงค์หรือความต้องการซื้อ และอุปทานหรือความต้องการขาย โดยถ้าจะให้ยกตัวอย่างก็เช่น หากมีคนต้องการซื้อเงินบาทมากขึ้น ราคาของเงินบาทก็จะเพิ่มสูงขึ้น หรือเรียกว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น และในทางกลับกัน หากมีคนซื้อเงินบาทน้อย ก็จะมีการปรับราคาเงินบาทที่ลดลงหรือเรียกว่าเงินบาทอ่อนค่า


โดยที่ส่วนใหญ่สกุลเงินจากทั่วโลก มีการซื้อขายกันแทบจะ 24 ชั่วโมง โดยจะเป็นการซื้อขายในกลุ่มผู้นำเข้า-ส่งออก สถาบันการเงิน นักลงทุนต่างชาติหรือจะเป็นกองทุนต่างๆครับ และนอกจากนี้มันอาจจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ในปัจจุบัน หรืออย่างที่เราเห็นข่าวนั้นแหละครับ หากมีเรื่องดีหรือต้องการใช้เงิน ค่าเงินก็จะมีความผันผวนอย่างมาก ค่าเงินก็จะมีการปรับตัวขึ้นลงอยู่เป็นประจำ อยู่ที่ว่าจะมากหรือน้อยนั้นแหละครับ

ปัจจัยที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนกันบ้าง

  • ผลของเงินเฟ้อที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยน


โดนเงินเฟ้อที่ว่ามามันหมายถึงสภาวะที่ราคาและสินค้า บริการมีการปรับตัวขึ้นของราคา ทำให้ทุกอย่างแพงขึ้น ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนนั้นมีการปรับเปลี่ยน ซึ่งโดยทั่วไปประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าอย่างสม่ำเสมอจะแสดงค่าสกุลเงินที่เพิ่มขึ้น เพราะว่ากำลังซื้อเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ โดยที่ประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงกว่า มักจะเห็นค่าเงินอ่อนค่าของสกุลเงินของคู่นั้นมาพร้อมกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น

  • ผลของอัตราดอกเบี้ยที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยน


อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยนล้วนมีความสัมพันธ์กันอย่างมาก ยิ่งอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ก็จะยิ่งทำให้ผู้ให้กู้หรือนักลงทุนในระบบเศรษฐกิจได้รับผลตอบแทนสูงกว่า เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นจึงสามารถดึงดูดเงินทุนจากต่างประเทศ และทำให้อัตราแลกเปลี่ยนสูงขึ้น

  • การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยน


บัญชีเดินสะพัดคือดุลการค้าระหว่างประเทศและคู่ค้า คือสิ่งที่สะท้อนให้เห็นการชำระเงินระหว่างประเทศสำหรับสินค้า การบริการ ดอกเบี้ย และเงินปันผล โดยในบัญชีเดินสะพัดแสดงให้เห็นว่าประเทศกำลังใช้จ่ายเพื่อการค้าต่างประเทศมากกว่าที่เป็นรายได้ และเป็นการกู้ยืมทุนจากแหล่งต่างประเทศเพื่อชดเชยการขาดดุล ซึ่งถ้าให้แปลง่ายๆ คือการที่ประเทศต้องการเงินต่างประเทศมากกว่าที่จะได้รับหรือหาได้ในประเทศ ซึ่งถ้าหากความต้องการเงินตราต่างประเทศที่มากเกินไปจะทำให้อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศลดลงนั้นเองละครับ 

  • หนี้สาธารณะที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยน


หลายประเทศจะมีการจัดหาเงินทุนจากการขาดดุลมากกว่าเพื่อจ่ายสำหรับโครงการของภาครัฐเอง โดยแม้ว่าอาจจะฟังดูเป็นการกระตุ้นเรื่องของเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่เรื่องนี้ก็ส่งผลทำให้เกิดการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติได้น้อยลง เพราะการมีหนี้ก้อนใหญ่นั้นจะหนุนทำให้เกิดเป็นเงินเฟ้อ และยิ่งถ้าเงินเฟ้อ การใช้จ่ายก็มีราคาที่สูงขึ้น หรือหากจะเป็นการพิมพ์เงินออกมามากขึ้น ก็จะทำการเกิดเงินเฟ้อนั้นง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน หากประเทศไม่สามารถหาทางบริหารส่วนที่ขาดดุลได้ ก็จะต้องหาวิธีในการเพิ่มหลักทรัพย์เพื่อขายให้กับชาวต่างชาติ และก็จะทำให้ราคานั้นลดลง เพราะฉะนั้นเรื่องของอันดับหนี้ของประเทศ จึงกลายเป็นตัวกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่สำคัญ

  • ด้านการค้าที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยน


ด้านการค้าเป็นเรื่องของอัตราส่วนการเปรียบเทียบราคาส่งออกกับราคานำเข้า หากราคาส่งออกของประเทศเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าราคานำเข้าก็จะเป็นเรื่องดี ในทางกลับกัน ส่งผลให้รายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ความต้องการสกุลเงินของประเทศเพิ่มขึ้น และหากราคาส่งออกเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าการนำเข้า  ก็จะทำให้มูลค่าของสกุลเงินจะลดลงเมื่อเทียบกับคู่เงินแลกเปลี่ยน
แสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น